นักลงทุนกลุ่มเทคฯ ในจีนเน้นมองกลุ่มผลตอบแทนต่ำ

12 May 2020 Investment

นักวิเคราะห์ชี้ 3 ยักษ์ใหญ่เจ้าตลาดคอนซูเมอร์เทคของจีน แอนท์ ไฟแนนเชียล-ไบท์แดนซ์-วีแบงค์ จ่อเข้าตลาดมหาชนภายใน 1-2 ในปีข้างหน้า

สำนักข่าวไฟแนนเชียลไทม์ รายงานว่า 3 บริษัทยักษ์ใหญ่ที่เตรียมเข้าตลาดมหาชนได้แก่ แอนท์ไฟแนนเชียล ธุรกิจให้บริการด้านการชำระเงินของอาลีบาบา ซึ่งมูลค่าล่าสุดที่ประมาณ 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ รายที่สองคือ ไบท์แดนซ์บริษัทแม่ของ TikTok ที่กำลังซื้อขายในตลาดสีเทาด้วยมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงกว่าเมื่อครั้งระดมทุนล่าสุดในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ TikTok และแพล็ตฟอร์มอื่นๆ ถึง 25,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐและอีกรายคือวีแบงค์ ธนาคารดิจิทัลสนับสนุนโดยเทนเซนต์ ทีมผู้บริหารของบริษัทและกลุ่มบริษัทในเฉินเจิ้นที่ได้รับการอนุมัติจากรัฐบาล

อย่างไรก็ตาม การเปิดตัวจดทะเบียนเข้าตลาดน่าจะถึงปลายยุคแล้ว นักวิเคราะห์บางรายกล่าวว่านอกจากยักษ์ใหญ่สามรายนี้ก็ไม่น่าจะมีบริษัทใดอีกแล้ว ผู้บริหารบริษัทเอเซียซึ่งเป็นวีซีในซิลิคอนวัลเลย์บอกว่าบริษัทตนไม่ได้รุ่งเรืองเหมือนในอดีต “เราไม่สามารถทำเงินได้ 7 เท่าจากการลงทุนแล้วออกภายในไม่กี่ปีเหมือนเดิมอีกแล้ว ปัจจุบันมูลค่าบริษัทต่างๆสูงมากและเงินทุนมหาศาลที่พร้อมลงทุนตั้งแต่ในระยะเริ่มต้นไปจนถึงระยะหลัง”

เมื่อสิบปีที่แล้ว นักลงทุนรายนี้ทำเงินพันๆล้านจากยักษ์ใหญ่เทคโนโลยีของจีน ไม่ว่าจะเป็น อาลีบาบา เจดีดอทคอมและเทนเซนต์ ซึ่งหุ้นในนิวยอร์คและฮ่องกงมีมูลค่ารวมกันถึง 1.1 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ ปัจจุบันเขากำลังคิดลงทุนในธุรกิจการศึกษา แพลตฟอร์มเรียลเอสเตทและบริษัทรถยนต์มือสอง ซึ่งทั้งหมดเป็นรูปแบบออนไลน์ “เรามองไม่เห็นโอกาสที่น่าสนใจในอะไรใหม่ๆ”

มีหลายเหตุทีเดียวที่ทำให้เขามีมุมมองที่เปลี่ยนไป ประการแรกคือขนาดของยักษ์ใหญ่เหล่านี้ที่มีพลังมากมายมหาศาลจนทำให้สตาร์ทอัพประสบความสำเร็จได้ยากขึ้น เพราะถ้ายักษ์ใหญ่มองเห็นอะไรดีๆ พวกเขาก็จะเลียนแบบหรือไม่ก็ขย้ำเป็นของตน

“บริษัทยักษ์ใหญ่ทั้งหลายกำลังจะครอบครองตลาดมากขึ้น อะไรที่ใหม่และน่าสนใจก็จะถูกหนึ่งในยักษ์ใหญ่เหล่านี้กวาดเลียบ” นักลงทุนในตลาดฮ่องกงกล่าวและว่าโอกาสก็ยังมีแต่ก็ไม่ได้มากมายเหมือนในอดีต

นอกจากนั้นยังมีการเสนอขายหุ้นของธุรกิจอินเตอร์เน็ตคอนซูเมอร์ ผู้เล่นรายหลักในตลาดรถยนต์ออนไลน์อย่าง Guazi และตลาดอสังหาริมทรัพย์อย่าง Lianjia ยังอยู่ในตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แก่สถาบันโดยตรง (Private Market) แต่นักลงทุนอาจจะต้องมีความอดทนมากกว่าเมื่อก่อนเพื่อผลตอบแทนที่เล็กลง ดังนั้นบางรายจึงมีการทบทวนยุทธศาสตร์ ไม่ว่าพวกเขาจะหันหลังให้ธุรกิจอินเตอร์เน็ทคอนซูเมอร์เพื่อโอกาสอื่นๆ ในโลกออฟไลน์หรือไม่สนใจตลาดตลาดซื้อขายหลักทรัพย์แก่สถาบันโดยตรงแล้วเปลี่ยนไปตลาดที่ซื้อขายหลักทรัพย์แก่มหาชนแทน (Public Market)

”ธุรกิจออฟไลน์นั้นถูกให้มูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริง” นักลงทุนฮ่องกงกล่าวและชี้ว่าอาลีบาบาและเทนเซนต์กำลังลงทุนในธุรกิจค้าปลีก อาลีบาบาเป็นเจ้าของและดำเนินธุรกิจเชน เหอหม่า ซูเปอร์มาร์เก็ต ขณะที่เทนเซนต์ถือหุ้นใหญ่ในยงฮุยซูเปอร์สโตร์

“ไม่มียักษ์ใหญ่เหมือนวอลล์มาร์ครองตำแหน่งอันดับหนึงในอาณาจักรค้าปลีกประเทศจีน”

นักลงทุนอีกคนที่มีมุมมองที่แตกต่างออกไปคือ ริชาร์ด จี อดีตนักวิเคราะห์เทคโนโลยีแห่งมอร์แกน สแตนเลย์ซึ่งขณะนั้นเป็นผู้ก่อตั้งบริษัทออลสตาร์ประเทศฮ่องกง ปัจจุบันอาศัยอยู่ชานเมืองจี๋หนานประเทศจีนนับตั้งแต่เกิดการแพร่ระบาดของเชื้อโรคทั่วประเทศในเดือนมกราคา เขามีมุมมองว่ายักษ์ใหญ่อินเตอร์เน็ตจะถึงจุดสูงสุดในไม่ช้า ด้วยเหตุนี้ นายจีจึงเลือกที่จะถือหุ้นบริษัทฟูลทรัค อาไลแอ้น ซึ่งเป็นผู้นำอีคอมเมอร์ซบีทูบี (B2B) ด้านลอจิสติค แทนที่จะเป็นบริษัท ดีดี้ ชูซิง แพล็ตฟอร์มบริการรถร่วมเดินทางแบบบีทูซี (B2C) ขณะเดียวกัน เขาก็ยังมีความคล่องตัวและสามารถไปลงทุนทั้งในตลาดหลักทรัยพ์มหาชนและตลาดหลักทรัพย์สถาบันได้

เขากล่าวว่าทุกวันนี้ มูลค่าตลาดซื้อขายหลักทรัพย์ในสถาบันสูงขึ้น ซึ่งตัวเขาเองกำลังลงทุนในกลุ่มแชมเปี้ยนที่ถูกให้มูลค่าต่ำกว่าความเป็นจริงโดยตลาดหลักทรัพย์มหาชน เช่น ZTO Express ซึ่งเป็นผู้ให้บริการขนส่งที่ขายหุ้นในนิวยอร์คในปี 2016 ตลาดกำลังผันผวนในช่วงขาลง เมื่อปีที่แล้วนักลงทุนต่างหวาดหวั่นเรื่องสงครามการค้า มาปัจจุบันก็เป็นเรื่องผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า ขณะเดียวกัน ฮิลเฮาส์ แคปิตอล บริษัทที่เน้นการลงทุนในเอเซีย ก็มองบริษัทกลุ่มคอนซูเมอร์อิเลคทรอนิกส์แบบเดิมอย่าง กรี อิเลคทริก แอปพลายแอนซ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเครื่องปรับอากาศ

มีความเป็นไปได้เสมอที่ยักษ์ใหญ่ด้านคอนซูเมอร์เทคจะเสียศูนย์ เพราะด้วยขนาดของบริษัท บริษัทเหล่านี้มีความคล่องตัวน้อยลงมากและก่อนที่ไวรัสจะจู่โจม นักลงทุนทั้งหลายต่างเข้าลงทุนบริษัทกลุ่มที่เป็นดาวรุ่งเหล่านี้ด้วยหวังว่าบริษัทเหล่านี้จะสร้างกำไรมหาศาล โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทที่ทำธุรกิจทางด้านปัญญาประดิษฐ์ (AI) และซอฟต์แวร์องค์กร

แต่ปัจจุบัน ยังไม่มีบริษัทด้านเทคบริษัทไหนที่มีวี่แววจะประสบความสำเร็จได้อย่างยิ่งใหญ่เหมือน ByteDance บริษัทเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตยักษ์ใหญ่ของจีน ดังนั้น หากสถานการณ์ยังไม่เปลี่ยนแปลง ความน่าตื่นเต้นของธุรกิจเทคคงยังไม่น่ากลับมาในเร็ววันนี้

Reference: Financial Times