Startup Thailand จับมือพันธมิตรวงการออกแบบจัดโครงการ M>O>V>E ปั้นนักออกแบบรุ่นใหม่ไฟแรง

10 June 2019 Startups

คณาจารย์และกลุ่มศิษย์เก่าของสถาบันทางการออกแบบจากมหาวิทยาลัยต่างๆ ร่วมกับ Startup Thailand โดยสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ หรือ NIA ร่วมกันเป็นพันธมิตรทางการออกแบบในการจัดโครงการ M>O>V>E Design-based Learning Program 2019 และ จัดเสวนาในหัวข้อ “Design-based Learning” จัดขึ้นเมื่อวันพุธที่ 5 มิถุนายนที่ผ่านมา ณ True Digital Park,101 Third Place กทม.

สำหรับโครงการ M>O>V>E Design-based Learning Program ต้องการวางจุดมุ่งหมายและเป้าหมายแก่ผู้เข้าร่วมโครงการได้เรียนรู้ว่าเมื่อเข้าร่วมโครงนี้แล้วสามารถเรียนรู้และจิตนาการ “ฉายภาพความฝัน” ของตนออกมาในรูปแบบที่ไม่ใช่แค่ “ภาพ” แต่เป็น “แผนที่” เพื่อให้สามารถวางแผนไปสู่เป้าหมายนั้นๆได้ ผ่านวงเสวนา Design-based Learning ที่ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้มากด้วยประสบการณ์ จำนวน 4 ท่าน อาทิ คุณทรงศักดิ์ เปรมสุข , คุณวิภว์ บูรพาเดชะ นักเขียน นักแต่งเพลง นักวิจารณ์ ชื่อดัง , คุณธนชัย อุชชิน หรือ ป๊อด โมเดิร์นด็อก และ คุณสันติ ลอรัชวี นักออกแบบกราฟิกชื่อดัง ฯลฯ มาร่วมพูดคุยแลกเปลี่ยนเกี่ยวกับประสบการณ์ทางการออกแบบจากประสบการณ์จริงโดยตรง

ในการปฐมนิเทศครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมโครงการส่วนใหญ่ เริ่มต้นด้วยคำถามที่ว่า ทำไมถึงเลือกเรียนด้านศิลปะ? แต่ละท่านวิทยากรได้ร่วมแชร์ประสบการณ์ที่แตกต่างกันไป อาทิ วิทยากรบางท่านบอกว่ามาเรียนศิละเป็นเพราะ “ดวง” หรือ วิทยากรบางท่าน บอกว่าแรงบันดาลใจเกิดจากความไม่ตั้งใจ หรือ ความบังเอิญ อาทิ  อ.สันติ ลอรัชวี นักออกแบบกราฟิกชื่อดัง ได้กล่าวถึงความมีอิทธิพลของครูที่มีต่อนักเรียนในวัยเยาว์ ว่า แค่คำพูดหรือการกระทำเล็ก ๆ ก็สามารถส่งผลถึงอนาคตของเด็กคนนั้นได้!

เช่นเดียวกับ วิทยากรอีกหลาย ๆท่านได้ร่วมแชร์ประสบการณ์ ช่วงเวลาในวัยเด็กที่ได้เจอความชอบส่วนตัว การรู้จักตัวเอง หรือ เล่าประสบการณ์ถึงการเรียนทั้งในระดับมัธยมศึกษา จนถึงระดับมหาวิทยาลัย ดังนั้นสรุปได้ว่า การประสบความสำเร็จของวิทยากรแต่ละคนขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของแต่ละคนนั้นเอง ที่สำคัญการประสบความสำเร็จไม่ได้ขึ้นอยู่ในเฉพาะ “ในห้องเรียน” เท่านั้น และต้องออกไปหาประสบการณ์หรือความรู้จาก “นอกห้องเรียน” ด้วย เช่น ต้องได้เรียนรู้ศิลปะในแขนงต่างๆตามห้องสมุดของมหาวิทยาลัย ร้านเทปที่มีเทปไม่ใช่แค่ปกสวยๆ แต่เพลงยังเพราะอีกด้วย หรือ แม้แต่การเรียนรู้วิธีการพัฒนาตนเองทั้งจากงานที่ได้รับมอบหมายจากอาจารย์ การกลับมาฝึกฝนเอง ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาตัวเองจากภายใน เช่น เข้าใจและรู้ว่าตนเองถนัดอะไร เพื่อนำไปสู่การปรับทัศนคติเพื่อเปิดรับสิ่งใหม่ๆ รวมถึงการอ่านหนังสือ เสพย์งานศิลปะ หรือ แม้แต่การหาความรู้จากสิ่งรอบๆตัว เป็นต้น

นอกจากนี้วิทยากรบางท่านยังให้ข้อคิดอีกว่า เมื่อพัฒนาความคิดไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว ทักษะย่อมเป็นสิ่งจำเป็น รวมถึงการมี Idol ด้านศิลป์เป็นของตัวเอง เช่น  Navile Brody, David Hockney หรือ คุณชัชวาล ขนขจี หรือ พี่ต้อม นักออกแบบเรขศิลป์ชื่อดัง สิ่งสำคัญ คือ ต้องฝึกฝนตนเองด้วยการทำงานแบบ Idol ที่ตนเองติดตามผลงานเพื่อเรียนรู้กระบวนการทำงาน เทคนิคต่างๆ เพื่อรู้ว่าเขาคิดและทำงานยังไง มีข้อดีข้อเสียอย่างไหร่ เป็นต้น

อย่างไรก็ตามวิทยากรบางท่านยังให้ความรู้และแลกเปลี่ยนประสบการณ์เพิ่มเติมว่า การพัฒนาทักษะต้องเกิดจากการพัฒนาซ้ำ ๆ บ่อย ๆ เมื่อหมดยุคของวัยเรียน ก็ต้องเข้าสู่วัยทำงานจริง ซึ่งเป็นการทำงานที่ต้องมีการพูดคุยกับลูกค้า ถือเป็นสิ่งสำคัญมาก พร้อมกับให้คำแนะนำการทำงานว่า ไม่ว่าจะเป็นการติดต่อกับลูกค้า การคิดงาน การค้นคว้า การทำงานต้องทำให้ตอบโจทย์แก่ตัวเองและลูกค้า พร้อมกับกล่าวเตือนนักออกแบบรุ่นน้องๆว่า การเป็นนักออกแบบที่เก่ง ต้องวางเป้าหมายการทำงานอยู่เสมอ และต้องให้ความสำคัญกับกระบวนการออกแบบ หรือ Design Process

“เรื่องที่ควรระลึกอยู่เสมอ คือ ทัศนคติในการทำงาน เราควรจะมีทัศนคติที่ดีและปรับทัศนคติในการทำงานกับคนอื่น ควรมองในมุมคนอื่นด้วย ไม่เอาตัวเองเป็นที่ตั้ง และการปล่อยวางความคิดบางอย่างลงไปก็จะทำให้เราใช้ชีวิตได้ง่ายมากขึ้น” คำแนะนำจาก 1 ใน 4 วิทยากร

สำหรับงานปฐมนิเทศที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 มิ.ย.ที่ผ่านมา เป็นเพียงเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆ เพื่อเรียกน้ำย่อยจากโครงการนี้เท่านั้น ที่ยังมีสาระสำคัญอื่นๆอีกมากมาย ดังนั้นคนรุ่นใหม่ นักเรียนนิสิตนักศึกษาหรือประชาชนทั่วไปสามารถติดตามความเคลื่อนไหวต่อไปได้ที่ เพจ M>O>V>E ซึ่งจะมีข้อมูลแบบเจาะลึกของวิทยากรแต่ละคนที่ได้จำลองประสบการณ์ในกิจกรรมแต่ละครั้ง ไม่ใช่แค่ผู้เข้าร่วมเท่านั้นที่เป็นผู้เรียน ทุกคนสามารถเรียนรู้ไปด้วยกันได้  จึงอย่าพลาดมาร่วม โครงการ M>O>V>E Design-based Learning Program 2019

Move1
Move2
Move3
Move4
previous arrow
next arrow
Move1
Move2
Move3
Move4
previous arrow
next arrow