ยักษ์ใหญ่ในเอเซียเตรียมโละขายหุ้นสตาร์ทอัพ

3 April 2020 Investment

บริษัทยักษ์ใหญ่ของเอเซียเตรียมขายหุ้นสตาร์ทอัพเจ้าดัง Gojek แห่งอินโดนีเซียและ Didi Chuxing ของจีนให้แก่นักลงทุนตลาดรอง เพื่อหันไปเน้นการจัดการกับวิกฤตการณ์ไวรัสโคโรน่า

เวนเจอร์แคปปิตอล (วีซี) ซึ่งเป็นหน่วยลงทุนของบริษัทใหญ่ของเอเซียได้เสนอขายหุ้นของ Gojek ซึ่งมีมูลค่า 50-100 ล้านเหรียญสหรัฐให้กับนักลงทุนตลาดรอง

Gojek นับเป็นสตาร์ทอัพที่มีมูลค่าสูงสุดในอินโดนีเซียที่ให้บริการหลากหลายได้แก่บริการรถยนต์เดินทาง บริการส่งอาหารและบริการด้านการเงิน โดยมีผู้ลงทุน อาทิ มิตซุบิชิ ระกูเต็น ซัมซุง และเทนเซนต์ ร่วมกับกองทุนวีซีรายอื่น ๆ

ไมเคิล โจเซฟ ผู้ร่วมก่อตั้งไอออน แปซิฟิค ผู้จัดการสินทรัพย์ในฮ่องกงที่เน้นการลงทุนในตลาดรองกล่าวว่าบริษัทได้รับการทาบทามจากหลายบริษัทในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ซึ่งปัจจุบันคณะกรรมการบริษัทกำลังพิจารณาเรื่องนี้ร่วมกัน โดยเขาปฏิเสธที่จะให้ความเห็นว่าเป็นสตาร์ทอัพรายใด แต่กล่าวว่า Didi ก็ได้เสนอมาเมื่อเร็ว ๆ นี้เช่นกัน

คาเคา เวนเจอร์ส ซึ่งเป็นวีซีในเกาหลีใต้และ เอสบีไอ อินเวสเมนต์ รวมทั้ง มิตซูบิชิ ยูเอฟเจของญี่ปุ่นก็นับเป็นทอปเท็นคอร์ปอเรทวีซีที่เข้มแข็งในตลาดโลก รวมทั้ง เอ็นทีทีของญี่ปุ่น และ อาวิวาของสิงคโปร์ก็เป็นที่ยอมรับในตลาดเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา

หุ้นของดีลต่าง ๆ ในเอเซียที่มีคอร์ปอเรทวีซีสนับสนุนนั้นเติบโตขึ้นนับตั้งแต่ปี 2014 และในปี 2019 ภูมิภาคเอเซียได้แซงหน้าตลาดสหรัฐอเมริกาขึ้นเป็นอันดับหนึ่งในเชิงจำนวนดีลโดยคอร์ปอเรทวีซีทั้งหมด อย่างไรก็ตาม โจเซฟบอกว่านักลงทุนคอร์ปอเรทจำนวนมากมีประสบการณ์น้อยในการบริหารจัดการการลงทุนในช่วงภาวะขาลง จึงเลือกทางออกด้วยการเสนอขายหุ้น ซึ่งส่วนใหญ่ลดราคาพิเศษ และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในภาพรวม

ดีลที่หนุนโดยคอร์ปอเรทเวนเจอร์ที่ใหญ่ที่สุดในปี 2019 คือซีรีส์ D ของบริษัทด้านการสื่อสารระดับโลกอย่าง OneWeb ซึ่งนำโดยวีซีของแอร์บัสและแคลคอมม์ สัปดาห์ที่แล้ว OneWeb ได้ยื่นขอล้มละลายหลังจากที่ไม่สามารถได้รับเงินทุนใหม่ได้

ดาร์เรน มาสซาร่า พาร์ทเนอร์ผู้บริหารของ นิวเควส แคปปิตอล พาร์ทเนอร์กล่าวว่าตลาดรองมีทางออกที่เป็นประโยชน์แก่นักลงทุนที่เป็นแนวทางอนาคตสำหรับธุรกิจแต่ยังไม่ขัดเจนปัจจุบัน ได้แก่การเข้าสู่ตลาดมหาชน

เขาเผยว่านักลงทุนที่ขายหุ้นคาดหวังทางออกแบบเดิมเช่น IPO หรือระดมทุนรูปแบบอื่น ๆ แต่ด้วยโคโรน่าไวรัสทำให้ต้องล่าช้าไป ดังนั้นจึงเป็นจังหวะให้เกิดช่องทางของตลาดรองขึ้น

“กองทุนคอร์ปอเรทวีซีใหม่หลายรายในเอเชียที่เกิดขึ้นในปี 2020 คือกองทุนเฮจฟันด์ที่ตั้งขึ้นในช่วงปี 2001-2007 ก่อนวิกฤการณ์ทางการเงิน พวกเขาอาจจะเป็นผู้จัดการกองทุนที่พลาดมาช่วงเวลานั้น ซึ่งพวกเขาก็น่าจะออกจากงานและแยกย้ายกลับบ้านในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้”