เอ็นไอเอ -สกว.- ทีซ่า ชู โยธี Yothi Medical Innovation District

24 August 2018 Startups

สมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA) ร่วมกับสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว) ร่วมผลักดันให้เกิดการสร้างผลงานตัวอย่างของการใช้เทคโนโลยีของคนไทย บนพื้นที่ย่านโยธี ในบริเวณสี่ตารางกิโลเมตร ให้เป็นเป็นสมาร์ทซิตี้ด้านสุขภาพ

เนื่องจากย่านโยธีเป็นแหล่งรวมของโรงพยาบาลและหน่วยงานด้านสาธารณสุขที่มากที่สุด

วัชระ ฉัตรวิริยะ นายกสมาคม TESA กล่าวว่า สมาคมฯ จะเน้นบทบาท การเป็นผู้ประสานงานอำนวยความสะดวก ที่จะเป็นตัวกลางระหว่างนักพัฒนา บริษัทด้านสมองกลฝังตัวทั้งเอสเอ็มอี และสตาร์ทอัพ รวมถึงบริษัทขนาดใหญ่ เพื่อพบปะกลุ่มเป้าหมายผู้ใช้งาน เช่นโรงพยาบาล หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง ทั้งสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ กรุงเทพมหานคร สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และอื่นๆ ที่จะสร้างผลงานตัวอย่างของการทำสมาร์ทซิตี้ในเขตพื้นที่

โดยเปิดรับเอกชนและนักพัฒนาที่สนใจมาสร้างผลงาน และหาทุนสนับสนุนการทำต้นแบบเพื่อให้ไปใช้งานจริง และเชื่อมั่นว่าการสร้างต้นแบบดังกล่าว จะทำให้กลุ่มผู้ใช้งานเกิดความมั่นใจ และขยายผลเป็นกรณีศึกษาที่ทำให้ผู้ประกอบการได้สร้างลูกค้าใหม่ๆในอนาคตได้

ที่ผ่านมา นักพัฒนามีความชำนาญด้านเทคโนโลยี แต่ยังขาดศักยภาพช่องทางการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าและความท้าทายในการประสานงานกับหน่วยราชการ และการเข้าประมูลของภาครัฐ การเข้ประสานงานในนามสมาคม จะทำให้เกิดโครงการได้อย่างสัมฤทธิผลรวดเร็วขึ้น

Yothi Medical Innovation District ในภาพใหญ่จะประกอบด้วย ประชาชนในพื้นที่ที่มีการใช้งานไอซีที ผู้ให้บริการเครือข่าย เจ้าของอาคารและพื้นที่ ภาคธุรกิจ สถาบันการศึกษา ส่วนราชการต่างๆ หน่วยงานด้านสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน

Startup-TESA_06

โดยโซลูชั่นที่ได้ สามารถเริ่มต้นจากแนวคิดใหม่ โซลูชั่นเฉพาะทาง หรือเป็นโซลูชั่นขนาดใหญ่ ทั้งนี้การทำเฮลธ์ คอมมูนิตี้ให้เกิดขึ้นในย่านโยธี อาจครอบคลุมถึงการสร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย การขยายขีดความสามารถการใช้บริการสาธารณสุขได้ดียิ่งขึ้น การศึกษาด้านสุขภาพที่มีคุณภาพ การพัฒนาบริการขนส่งสาธารณะในพื้นที่ การฝึกอบรม การสร้างงาน การพักอาศัยที่ปลอดภัย

โดยการออกแบบโครงการนั้น นอกเหนือจากการใช้ เซนเซอร์ และInternet of Things แล้ว จะต้องสามารถเชื่อมโยงข้อมูลในอุปกรณ์ และมีภาพรวมแจ้งสถานะอุปกรณ์การใช้งานผ่านแดชบอร์ด และมีข้อมูลบางส่วน ต้องเปิดสาธารณะ เป็นโอเพ่นดาต้า เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์จากข้อมูลได้ประโยชน์สูงสุดขยายผลวงกว้างได้

ส่วนเอกชนที่เข้าร่วมสนับสนุนด้านเทคโนโลยีหรือเงินทุน ก็สามารถได้ข้อมูลที่นำไปใช้วิเคราะห์ของธุรกิจตนเองได้

วิรุฬห์ ศรีบริรักษ์ ผู้ประสานงานชุดโครงการวิจัยอุตสาหกรรมดิจิทัลสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย หรือ สกว. กล่าวเสริมว่า ตลาดการดูแลสุขภาพและการแพทย์ ของไทยถือว่าโดดเด่นในอาเซียน ด้วยมูลค่า 4.3 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ จากมูลค่ารวมของอาเซียน 2.4 ล้านล่านดอลล่าร์สหรัฐ และไทยยังมีผู้ป่วยต่างชาติกว่า 2.5 ล้านราย ซึ่งการสร้างนวัตกรรมโซลูชั่นด้านสุขภาพจึงสร้างโอกาสมหาศาล

Startup-TESA_05

นอกจากนั้น การพัฒนานวัตกรรมด้านสุขภาพยังช่วยตอบโจทย์ของสังคมไทย ซึ่งมีประชากรผู้สูงอายุ 15 ล้านคน และในจำนวนนี้มีผู้ป่วยติดเตียง 3 แสนคน  ผู้ป่วยติดบ้าน ที่เดินได้ไม่มาก กว่าสามล้านคน และอีกสามล้าน ต้องการบ้านพักคนชรา

การใช้เทคโนโลยีที่จะเชื่อมต่อเซนเซอร์ และอุปกรณ์ ทั้งการใช้ในร่างกายมนุษย์ ที่บ้าน ชุมชน คลินิค และสถานพยาบาล จะช่วยให้ได้ข้อมูล นำมาประมวลผลวิเคราะห์ และเกิดการตัดสินใจแก้ไขปัญหาได้อย่างท่วงทีโดยเฉพาะเหตุฉุกเฉิน ซึ่งทั้งหมดต้องดำเนินการเป็นอีโคซิสเต็มทั้งระบบทำให้เกิดรูปแบบธุรกิจใหม่

มีตัวอย่างเมืองที่น่าสนใจ Antwerp เมืองใหญ่อันดับสองของเบลเยี่ยมที่ใช้เทคโนโลยีจากงานวิจัยมาขยายผลใช้งานจริงได้  เมืองดังกล่าวมีความโดดเด่นแฟชั่น ช็อคโกแลต เพชร และเบียร์ ได้ใช้สมาร์ทซิตี้เข้ามาตอบโจทย์ในชุมชน ซึ่งใช้ IoT และเกทย์เวย์ โดยอาศัยความร่วมมือจากคนในชุมชน และรับฟังความต้องการของคนในชุมชนให้คนในชุมชนมาออกแบบสมาร์ทซิตี้ของตนเอง และมาร่วมมือกับหน่วยงานวิจัย เอกชนและภาครัฐ

เช่นการให้คนในชุมชนปลูกสตรอเบอรี่ที่มีเซนเซอร์ในกระถาง ใช้วัดมลภาวะ ในอากาศ การติดตั้งอุปกรณ์ IoT ที่สามารถถ่ายภาพได้เพื่อให้คนขี่จักรยานรายงานสภาพของเมือง การทำสมาร์ทไลติ้ง เปิดไฟเฉพาะพื้นที่สนามบาสเก็ตบอล โดยเมืองนี้เปิดกว้างทุกเครือข่ายด้าน IoT และใช้เทคโนโลยีที่มีอยู่แล้วเพื่อคุ้มครองความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยไซเบอร์

เราสามารถนำต้นแบบวิธีคิดการสร้างสมาร์ทซิตี้มาปรับใช้การทำต้นแบบย่านโยธีได้

ส่วนของสกว. มีทุนวิจัยที่ได้ร่วมกับกสท โทรคมนาคม ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจกับสกว ตั้งกองทุน TRF-CAT funding เพื่อพัฒนานวัตกรรมด้าน IoT ซึ่งเอกชนและนักพัฒนาสามารถทำโครงการมาขอทุนดำเนินการสมาร์ทซิตี้ย่านโยธีได้

Startup-TESA_04

ปริวรรต วงษ์สำราญ รักษาการผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาผู้ประกอบการนวัตกรรม  สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ระบุว่า สมาร์ทซิตี้ ถือเป็นส่วนต่อยอดของย่านนวัตกรรม  โดยย่านนวัตกรรมการแพทย์โยธี (Yothi Medical Innovation District) ถือเป็นหนึ่งในเจ็ดแห่งของกรุงเทพฯ

เขตนวัตกรรมโยธี ได้รับคัดเลือกให้เป็นศูนย์กลางและพื้นที่นวัตกรรมด้านการแพทย์ ด้วยจำนวนบุคลากรการแพทย์มากกว่า 11,363 คน จำนวนนี้มีแพทย์เกือบ 2,000 คน เป็นพื้นที่ที่มีโรงพยาบาลชั้นนำระดับภูมิภาค โรงพยาบาลเฉพาะทาง

ในย่านนี้ จะสามารถจัดทำเวบพอร์ททัลการเชื่อมโยงข้อมูล ทรัพยากรด้านบุคลากร และงานวิจัย และแลกเปลี่ยนไอเดีย เพื่อสร้างโอกาสด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมสุขภาพ และยังนำไปสู่นวัตกรรมที่ขับเคลื่อนด้วยข้อมูล สำหรับเทคโนโลยีด้านการแพทย์ (MedTech)

ตัวอย่างเช่น การใช้สตาร์ทอัพเพื่อช่วยจองคิวพบแพทย์ การจองคิวหรือค้นหาอุปกรณ์การแพทย์เฉพาะทาง เช่น MRI ที่มีความหนานแน่นแต่ละโรงพยาบาลต่างกัน การทำระบบจอดรถอัจฉริยะ ในบริเวณสถานพยาบาล

NIAจะได้จัดกิจกรรมเพื่อนัดพบตัวแทนในชุมชนพื้นที่ดังกล่าว เป็น City Lab และดึงนักลงทุนวีซีด้านสุขภาพ และสตาร์ทอัพและผู้ประกอบการด้าน MedTech เพื่อเชื่อมโยงให้เกิดความร่วมมือได้รวดเร็ว

NIA ยังเตรียมงบประมาณสำหรับการให้ทุน กับผู้ใช้งาน เพื่อการทดสอบใช้งาน เพื่อให้เกิดโครงการเชิงพาณิชย์ได้ โดยโครงการนั้น จะเข้ามาตอบโจทย์แก้ไขปัญหาให้กับคนในพื้นที่ และ เป็นนวัตกรรมที่สามารถขยายผลต่อไปการพัฒนาอย่างยั่งยืน

NIA อยู่ระหว่างการจัดทำวิธีการทำข้อเสนอการประกวดราคา หรือทีโออาร์ของภาครัฐ เพื่อให้ง่ายต่อผู้ประกอบการนวัตกรรมในการเข้าประมูลงานของภาครัฐได้มากขึ้น นอกเหนือจากการดำเนินการผ่านบัญชีนวัตกรรม

เชื่อว่าหากเกิด ชิ้นงานต้นแบบ เป็น POC : Proof Of Concept เป็นโครงการนำร่องก็จะนำมาดำเนินการผ่าน Sandbox  และนำมาประเมินผล และจัดทำคู่มือเพื่อใช้เป็นแนวทางการพัฒนาพื้นที่อื่นต่อไป

Startup-TESA_02