NIA ร่วม 4 องค์กรหลัก ผุดเวทีรุกสร้างบุคลากรป้อน Electronic Design หวังยกระดับไทยเป็นแหล่ง Knowledge Industry แห่งใหม่ของโลกดึงดูดนักลงทุน

24 December 2018 Startups

TESA กรมศิลปากร ม.ศิลปากร และกสท. โทรคมนาคม ร่วมกับ NIA รวมทั้งผู้ประกอบการด้านระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System) และกว่า 30 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ รุกพัฒนาบุคลากรทางด้านการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Design) รองรับอุตสาหกรรมของประเทศ สร้างมูลค่าเพิ่ม และดึงดูดต่างชาติมาร่วมลงทุนในอุตสาหกรรมฐานความรู้ (Knowledge Industry) เพิ่มมากขึ้น ด้วยการจัดประชันทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัว ชิงแชมป์ประเทศไทย ครั้งที่ 13 ในหัวข้อ Smart National Historic Site 4.0 หรือระบบการจัดการโบราณสถานแห่งชาติ 4.0

อุตสาหกรรมการออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Design) เป็นอุตสาหกรรมที่ใช้ความรู้เป็นวัตถุดิบหลัก ในการสร้างสรรค์เทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ใหม่ เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำที่ทำให้เกิดการนำผลผลิตไปใช้ต่อยอดทั้งในอุตสาหกรรมยานยนต์ โทรคมนาคม และอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมสร้างรายได้สูงให้ประเทศในปัจจุบัน  และคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งโลกหลายแสนล้านเหรียญสหรัฐ

ขณะที่การเติบโตของอุตสาหกรรมออกแบบอิเล็กทรอนิกส์ในประเทศไทยยังถูกจำกัด จากบุคลากรด้านนี้ยังเป็นสาขาที่ขาดแคลน ขาดการสนับสนุนจากทุกภาพส่วน คนรุ่นใหม่หันไปศึกษาหรือทำงานทางด้านตามกระแส ขาดการสนับสนุนด้านเครื่องมือหรืออุปกรณ์ ทำให้การผลิตบุคลากรไม่ต่อเนื่อง ประเทศจึงเสียโอกาสที่จะเติบโตทางด้านธุรกิจฐานความรู้

ดร.วัชระ ฉัตรวิริยะ นายกสมาคมสมองกลฝังตัวไทย (TESA) กล่าวว่า การแข่งขันทักษะ TGR2019 (TESA Top Gun Rally 2019) หรือทักษะทางด้านระบบสมองกลฝังตัว ชิงแชมป์ประเทศไทย จะช่วยสร้างแรงจูงใจให้หันมาสนใจหาความรู้ด้าน Electronic Design กันมากขึ้น โดยจะมีการจัดอบรมปูความรู้พื้นฐาน มอบโจทย์ให้ทำในแต่ละวัน ฝึกแก้ปัญหา เน้นการทำงานเป็นทีม ต่อยอดความรู้จนสามารถสร้างโซลูชั่น เปิดโอกาสให้นิสิตนักศึกษา อาจารย์ ผู้ประกอบการแลกเปลี่ยนความรู้ เพื่อขยายโอกาสความร่วมมือในมิติต่างๆ มีโอกาสไปร่วมฝึกงานกับความเชี่ยวชาญเฉพาะด้าน รวมทั้งทำโปรเจ็กต์ร่วมกับบริษัทต่างๆ

“การปรับสถานะของประเทศไปสู่ผู้นำด้าน Electronic Design จากการเป็นผู้ใช้งานหรือรับจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ จำเป็นต้องอาศัยศักยภาพของบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญด้าน Electronic Design ซึ่งถือว่าเป็นที่ต้องการมากในอุตสาหกรรมที่กล่าวมา ตามการเติบโตอย่างต่อเนื่องของตลาดยานยนต์ โทรคมนาคม และสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ทั่วโลก หากประเทศไทยสามารถอนุรักษ์โบราณสถาน ด้วยการใช้เซ็นเซอร์และอุปกรณ์ส่งสัญญาณระบุตำแหน่ง ระบบนี้ก็จะส่งข้อมูลให้กับนักท่องเที่ยวที่เข้าไปอยู่ในบริเวณนั้น”ดร.วัชระ กล่าว

การสร้างระบบฮาร์ดแวร์ ARTBox (Hardware Programming) เป็นการประกอบบอร์ดไมโครคอลโทลเลอร์และเซ็นเซอร์สำหรับการตรวจจับค่าต่างๆ ที่ใช้สำหรับการเฝ้าระวัง และแจ้งเตือนเพื่อการอนุรักษ์อาคารโบราณสถาน โดยจะต้องมีความสามารถในการส่งข้อมูลผ่านเครือข่าย LoRaWAN ทั้งนี้ จะมีการติดตั้งอุปกรณ์ระบุตำแหน่ง เพื่อใช้เป็นตัวเชื่อมโยงกับ Smart Phone ของนักท่องเที่ยวในการแสดงสารสนเทศที่เกี่ยวข้องได้ การแข่งขันทักษะระบบสมองกลฝังตัว จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 7-12 มกราคม 2562 โดยนักศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ 300 คนที่ผ่านการคัดเลือกของแต่ละสถาบัน จะเข้าร่วมแก้โจทย์รายวันเพื่อสะสมคะแนน 5 วัน และวันสุดท้ายจะเป็นพิธีมอบรางวัล ณ คณะวิทยาศาสตร์ ม.ศิลปากร พระราชวังสนามจันทร์ จ.นครปฐม

Startup-Electronic Design1
Startup-Electronic Design2
Startup-Electronic Design3
Startup-Electronic Design4
Startup-Electronic Design5
Startup-Electronic Design7
Startup-Electronic Design8
Startup-Electronic Design9
Startup-Electronic Design10
Startup-Electronic Design11
Startup-Electronic Design13
Startup-Electronic Design14
Startup-Electronic Design15
Startup-Electronic Design16
previous arrow
next arrow