ทรู ดิจิทัล พาร์ค ผนึกยักษ์ 4 ไอที โชว์เทคอนาคต​ AI-IoT

24 December 2018 Corporate

ทรู ดิจิทัล พาร์ค ผนึกยักษ์ 4 ไอที โชว์เทคแห่งอนาคต AI และ  IoT ปั้นอาคารอัจฉริยะรับกระแสสำนักงานแห่งอนาคต หวังดูดสตารท์อัพเต็มพาร์ค ดีเดย์ กพ. ปี 62

ฐนสรณ์ ใจดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ ทรู ดิจิทัล พาร์ค จำกัด หนึ่งในโปรเจ็คต์ยักษ์ของทรู คอร์ปอเรชั่น ระบุว่า ในพาร์คที่กำลังจะเปิดนั้น ได้ร่วมกับเทคโนโลยีอย่างน้อย 10 บริษัท ที่จะมาให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวกภายในพาร์ค ตอบสนองดิจิทัลเพื่อให้พาร์คเป็น global destination for digital lifestyle และดึงดูดเหล่าชุมชนคนสตาร์ทอัพ และสนับสนุนการทำงานของสตาร์ทอัพให้รวดเร็ว และมีผลิตภาพเพิ่มขึ้น

โดยขณะนี้พื้นที่เช่าจองเต็มกว่า 85% แล้วโดยจะมีสตาร์ทอัพ 70 บริษัท และ 40% เป็นต่างชาติ เช่น สิงคโปร์ ญี่ปุ่น

วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ซิสเต็มส์ ประจำประเทศไทยและภูมิภาคอินโดจีน เสริมว่า ซิสโก้ได้ติดตั้งเครือข่ายไร้สายที่มีความปลอดภัย ระบบส่องสว่างอัจฉริยะ และการใช้ connnected mobile experience มาใช้การทำ heat map ติดตามตำแหน่งผู้ใช้งาน และต่อยอดการใช้ระบุความหนาแน่นผู้อยู่ในอาคารได้

เทคโนโลยีในอาคารอัจริยะสมัยใหม่ออกมาตอบสนองดิจิทัลไลฟ์สไตล์ของคนทำงานที่เปลี่ยนแปลงไป workplace transfromation ที่เน้นความง่ายสะดวกรวดเร็ว รองรับการทำงานของบุคลากรที่มีความแตกต่างระหว่างเจเนอเรชั่นให้ทำงานร่วมกันได้  และอนุรักษ์พลังงานไปพร้อมกัน

นอกจากนั้นการใช้ IoT และเครือข่ายไร้สายจะรองรับการใช้ต่อยอดทางธุรกิจใหม่ๆ ที่สตาร์ทอัพจะสามารถพัฒนาแอปฯ และทดลองใช้งานจริงในอาคารได้

ธนพงษ์ อิทธิสกุลชัย ผู้อำนวยการส่งเสริมธุรกิจองค์กรและการพาณิชย์ ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) จำกัด  ระบุว่า ได้นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือเอไอ และการประมวลผลภาพวิชวลคอมพิวติ้ง มาจัดแสดงในพาร์ค โดยจะใช้การรู้จำใบหน้า facial recognition ที่จะรู้จำเจ้าของอาคาร ผู้เช่า และผู้เยี่ยมชม เพื่ออำนวยความสะดวก

โดยการใช้เอไอจะช่วยการประมวลผลทราฟฟิกการใช้อาคาร และสามารถนำมาต่อยอดธุรกิจจากข้อมูลที่มีอยู่ได้ เพื่อเข้าใจลูกค้า นำมาพัฒนาสินค้าและบริการใหม่ และรองรับการทำงานสมัยใหม่  และหากมีการใช้เอไอแพร่หลายมากขึ้นในไทย ก็จะเป็นหนึ่งในเป้าหมายของการให้ไทยเป็น AI hub ในอนาคต พร้อมช่วยผลักดันให้มีการใช้งานดิจิทัลขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจด้วยสัดส่วน 40% ของจีดีพีไทย ภายใน 4 ปีจากการคาดการณ์ชองไอดีซี

ยรรยง มุนีมงคลทร ผู้อำนวยการบริษัท เอปสัน  (ประเทศไทย) เพิ่มเติมว่าเอปสันนำเลเซอร์โปรเจ็คเตอร์ที่ฉายภาพได้มีขนาดสูงสุด ละเอียดระดับ 4K  Contrast ratio 2,500,000:1 ทำให้ภาพคมชัดและรองรับการต่อเชื่อมไร้สาย และการต่อเชื่อมพร้อมๆ กันสูงสุด 50 คน จะเป็นอุปกรณ์ที่เสริมการทำงานแบบอินเทอร์แอคทีฟ

การใช้เลเซอร์โปรเจ็คเตอร์จะขยายไปในธุรกิจใหม่ๆ จากการใช้ภายในอาคาร สำนักงาน สถาบันการศึกษา สู่การใช้งานนอกอาคารและธุรกิจบันเทิง ทั้งหมดเป็นการเปลี่ยนผ่านวิถีดิจิทัล

จูเลี่ยน ไฟร์เอ็ต ประธานกรรมการบริหารบริษัท ริโก้ (ประเทศไทย)  ระบุเพิ่มเติมว่าสำนักงานมีขนาดเล็กลง เกิดจากส่วนหนึ่งการทำงานของบริษัทต่างๆ จะส่งทีมไปทำงานกับบริษัทลูกค้า และเป็นการทำงานแบบโมบิลิตี้มากขึ้น

ริโก้ได้ลงทุนทำระบบ innovations experience centre เพื่อให้ได้สัมผัสถึงการใช้งานการจัดการเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ยุคใหม่ และการพิมพ์แบบอัจฉริยะในพาร์ค ช่วยทำให้การทำงานมีผลิตภาพเพิ่มขึ้น